วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559



วันภาษาไทยแห่งชาติ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วันภาษาไทย

ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ
นื่องจากได้มคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และสืบเนื่องจากปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันจึงเกิดความห่วงใยถึงปัญหาต่างๆ จึงได้จัดกรรมเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของภาษาไทยตลอดจนถึงทำนุบำรุง และอนุรักษ์ภาษาไทยให้อยู่คู่ไทยตลอดไปจึงได้มีการเสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปี เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฏาคม 2542 ให้วันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ
"วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์เว็บไซต์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บันทึกไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า"เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอจึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก"การเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้นนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้แก่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาในเมืองไทย ดังนั้น จึงเป็นที่มาของวันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคมคณะรัฐมนตรีได้มีติเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
    ๑.เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทานแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
   ๒.เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒
  ๓.เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
    ๔.เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิผลยิ่งขึ้น
     ๕.เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่าง ๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติและในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ"

สาเหตุที่กำหนดให้วันที่ 29 กรกฏาคม เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”

สำหรับวันที่ 29 กรกฏาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้น เพราะตรงกับวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2505 โดยทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” โดยพระองค์ทรงอภิปรายและสรุปอภิปรายได้อย่างดีเยี่ยมซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยกับความห่วงใยในการใช้ภาษาไทยคณะรัฐมนตรีจึงลงความเห็นว่าสมควรที่จะกำหนดให้ วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปีนั้นเอง
ประโยชน์ที่ได้รับจาก “วันภาษาไทยแห่งชาติ”
       1. ทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและ เอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยต่างๆ ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย ร่วมทั้งกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ”
       2. บุคคลในวงการวิชาชีพ ที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษาและ วงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลการใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง
      3. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและ สนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและ อนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป
กิจกรรมในวันภาษาไทยแห่งชาติ
โดยส่วนมาในวันภาษาไทยแห่งชาติ จะมีกิจกรรมทั้งของสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ที่จะมีการจัดกิจกรรมการใช้ภาษา การจัดนิทรรศการ การอภิปรายทางวิชาการ การประกวรคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง เป็นต้น





การเผยแพร่สารสนเทศเทคโนโลยีและการสื่อสาร


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเผยแพร่สารสนเทศและการสื่อสาร


    การเผยแพร่สารสนเทศ (Information dissemination)  เป็นช่องทางสำคัญในการสื่อเพื่อเผยแพร่สารสนเทศจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง เช่น จากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน จากสถาบันบริการสารสนเทศไปยังผู้ใช้ เป็นต้น สารสนเทศที่เผยแพร่อาจอยู่ในรูปของข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพ มัลติมิเดีย และอาจบันทึกไว้บนกระดาษ สื่อโสตทัศน์ สื่อแม่เหล็ก หรือสื่อออปติก

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในการเผยแพร่สารสนเทศ
  ปัจจุบันการเผยแพร่สารสนเทศทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ยืดหยุ่นและประหยัด เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการเผยแพร่สารสนเทศทั้งในระหว่างบุคคล ไปสู่กลุ่มผู้ใช้หรือแก่สาธารณะโดยอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารทั้งในระดับบุคคล กลุ่มบุคคล ภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงานโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
            บริการที่สำคัญบนอินเทอร์เน็ตที่นำมาใช้ในการเผยแพร่สารสนเทศอย่างแพร่หลายนั้น คือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล ทำให้สามารถจัดส่งสารสนเทศในรูปอิเล็กทรอนิกส์ไปถึงผู้ใช้แต่ละคนได้อย่างสะดวก กลุ่มสนทนาทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการสนทนาร่วมกันในกลุ่มสมาชิกในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งกระดานสนทนา(webboard)เป็นกระดานสนทนาในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง แต่เปิดกว้างให้กับสารธารณะชน และเวิลด์ไวด์เว็บ(World Wide Web)หรือ (web)ซึ่งเป็นการบริการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร หรือสารสนเทศทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซท์ (hypertext)และจัดเป็นบริการสำคัญที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุด

แนวคิดเกี่ยวกับการเผยแพร่สารสนเทศ

        การเผยแพร่สารสนเทศ (Information Dissemination) เป็นช่องทางสำคญในการสื่อเพื่อเผยแพร่สารสนเทศจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง เช่น จากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน จากสถาบันบริการสารสนเทศไปยังผู้ใช้ เป็นต้น สารสนเทศที่เผยแพร่อาจอยู่ในรูปของ ข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพ มัลติมีเดีย และอาจบันทึกไว้บนกระดาษ สื่อโสตทัศน์ สื่อแม่เหล็กหรือสื่อออฟติก

        การเผยแพร่สารสนเทศทั่วไปมีการเผยแพร่อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

1.การเผยแพร่สารสนเทศอย่างไม่เป็นทางการ อาจมีลักษณะของการพูดคุยในระหว่างการประชุมสัมมนา การติดต่อทางโทรศัพท์ การติดต่อทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การร่วมในกลุ่มสนทนาทางอิเล็กทรอนิกส์ (Listserv) ในหัวข้อต่างๆเป็นต้น

2.การเผยแพร่สารสนเทศอย่างเป็นทางการ มีการบันทึกสารสนเทศไว้เป็นหลักฐานในรูปลักษณะสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น เอกสารบรรยายทางวิชาการ หนังสือ ตำรา รายงานการประชุมทางวิชาการ วารสาร เอกสารทางวิชาการ เป็นต้น ซึ่งนิยมเรียกสิ่งพิมพ์เหล่านี้อย่างกว้างๆว่า สิ่งพิมพ์วิชาการ โดยถือเป็นสื่อที่สำคัญยิ่งในการเผยแพร่ความรู้และสารสนเทศใหม่และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ยิ่งกว่านี้สิ่งพิมพ์วิชาการที่มีคุณภาพจะมีกระบวนการพิจารณาคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้ร่วมวิชาชีพหรือนกวิชาการในแขนงเดียวกัน (Peer-Review Process)

        การเผยแพร่สารสนเทศเป็นกิจกรรมสำคัญของสถาบันบริการสารสนเทศ เกี่ยวข้องกับงานประชาสัมพันธ์ กิจกรรมและภารกิจของสถาบัน และการเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบที่สะดวกแก่ผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด การเผยแพร่สารสนเทศที่สำคัญ คือ เป็นการจัดส่งสารสนเทศไปยังผู้ใช้ โดยอาจเป็นการจัดส่งไปยังผู้ใช้ที่สถาบันคาดว่าจะใช้ประโยชน์จากสารสนเทศนั้น หรือจัดส่งไปยังผู้ใช้ที่ร้องขอ ทั้งนี้สารสนเทศที่จัดส่งอาจอยู่ในรูป เอกสาร บทความ จดหมายข่าว เอกสารเวียนและทั้งที่เป็นกระดาษ/หรืออิเล็กทรอนิกส์

        สถาบันบริการสารสนเทศประเภทต่างๆ ล้วนมีภารกิจสำคัญในการจัดบริการเผยแพร่สารสนเทศทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่สารสนเทศที่จัดบริการเผยแพร่นั้นมุ่งเน้นสารสนเทศที่ได้รับการบันทึกไว้เป็นหลักฐานสำคัญ

        การเผยแพร่สารสนเทศนั้น ในระยะต้นส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ทางเดียว กล่าวคือ การที่ผู้ใช้บริการสารสนเทศจัดส่งสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ไม่ว่าจะร้องขอหรือไม่ก็ตาม และอาจมีการสอนหรือแนะนำให้ผู้ใช้ได้รู้จักวิธีการแสวงหาสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการแสวงหาสารสนเทศด้วยตัวเองเมื่อไม่ให้บริการแล้ว ถือได้ว่าดำเนินครบกระบวนการเผยแพร่สารสนเทศ

        ในระยะหลัง การเผยแพร่สารสนเทศมีลักษณะปฏิสัมพันธ์ โดยทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้มีการสื่อสารระหว่างกัน และให้ผลป้อนกลับเพื่อใช้ปรับปรุงกิจกรรมการเผยแพร่สารสนเทศในสาขาวิทยาการหรือแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หรือตามนโยบายให้บริการของสถาบันเผยแพร่สารสนเทศแห่งนั้นๆ

สถาบันบริการสารสนเทศมักจัดเผยแพร่สารสนเทศใน 2 ลักษณะ คือ

         1.การเผยแพร่สารสนเทศเชิงรับ (Passive) มุ่งเน้นการจัดบริการเผยแพร่ดั้งเดิม คือการเผยแพร่สารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ตามที่ผู้ใช้ร้องขอ โดยอยู่ในขอบเขตการจัดบริการของสถาบันบริการสารสนเทศ เช่น สถาบันบริการสารสนเทศแห่งหนึ่งจัดบริการแปลเอกสารภาษาต่างประเทศ ผู้ใช้ที่สนใจจะต้องขอใช้บริการดังกล่าวโดยแจ้งต่อผู้ให้บริการโดยทางโทรศัพท์หรือไปแจ้งความจำนง ณ สถาบันบริการสารสนเทศแห่งนั้นด้วยตนเอง เพื่อขอทราบเงื่อนไขหรือลักษณะการให้บริการแปล หากผู้ใช้รายนี้ไม่ได้ขอให้บริการดังกล่าว อาจเป็นเพราะไม่ทราบว่ามีการจัดบริการแปล หรืออาจเคยใช้บริการแล้วแต่รู้สึกว่าการแปลมีข้อบกพร่อง หรือให้บริการช้าเกินไป ทำให้สถาบันบริการย่อมขาดโอกาสในการให้บริการ

        2.การเผยแพร่สารสนเทศเชิงรุก (Proactive) มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ เช่น ลักษณะการใช้สารสนเทศ ความสนใจ เป็นต้น เพื่อใช้ในการคาดการณ์ความต้องการของผู้ใช้และจัดบริการเผยแพร่สารสนเทศได้ทันและตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้ใช้ร้องขอใช้บริการ เช่น การจัดส่งสารสนเทศที่ตรงกับหัวข้อความสนใจของผู้ใช้แต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มทันทีที่มีสารสนเทศใหม่ ดังนั้น การเผยแพร่เชิงรุกจึงริเริ่มจากผู้ให้บริการสารสนเทศและจัดโดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรองขอใช้บริการ

 

การเผยแพร่สารสนเทศ

       1.ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภานในการเผยแพร่
      2.ต้องการคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย  กลุ่มเป้าหมาย หมายถึงกลุ่มคนที่เราต้องการให้รับรู้และให้ได้รับปนะโยชน์จากการรับรู้สารสนเทศ
      3.ต้องเลือกใช้สื่อ  และรูปแบบที่เหมาะสม ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้สื่อให้เหมาะสม  มีความหลากหลายรูปแบบ คุ้มค่าที่สุด
    4.ต้องคำนึงถึงประเด็นทางกฏหมาย และความรับผิดของผู้ของผู้เผยแพร่ 
หาก เผยแพร่สารสนเทศแล้วทำให้ผู้อื่นเสียหาย ผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  พ.ศ. 2550

เป้าหมายของการส่งเสริมการใช้และเผยแพร่สารสนเทศ

สารสนเทศในยุคปัจจุบันมีมากมายหลายรูปแบบ บทบาทของสถาบันบริการสารสนเทศจึงเปลี่ยนไปตามยุคสมัย สถาบันบริการสารสนเทศในฐานะที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ จำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยการที่ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันบริการสารสนเทศจำเป็นต้องเตรียมบุคลากรที่พร้อมให้บริการในการที่จะหาหนทางหรือวิธีการซึ่งจำเป็นทำให้ได้ทราบถึงพัฒนาการใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดจนผลิตภัณฑ์ด้านสารสนเทศล่าสุดเช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลออนไลน์ หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
             1. การให้การศึกษาผู้ใช้
การให้การศึกษาผู้ใช้มีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้ใช้รู้จักและเข้าใจทรัพยากรสารสนเทศแหล่งสารสนเทศเครื่องมือช่วยการค้นคว้าและกลยุทธ์การค้นหาสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้มีความรู้ และความสามารถในการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการผู้ใช้จำนวนมากมีความคุ้นเคยกับบริการและรูปแบบของสารสนเทศที่ตนเคยมีประสบการณ์ประกอบกับความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและบริการใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นทีหลัง
               2. การเผยแพร่กิจกรรมบริการ
            สถาบันบริการสารสนเทศมักเผยแพร่กิจกรรมของหน่วยงานอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้ทราบขอบเขตของบริการและศักยภาพของหน่วยงานที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เนื่องจากผู้ใช้จำนวนมากมีความสนใจที่จะได้สารสนเทศที่ต้องการก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นจะต้องใช้สารสนเทศเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเป็นการยากที่จะให้ผู้ใช้ทุกคนติดตามความเคลื่อนไหว หรือศึกษาขอบเขตความรับผิดชอบของสถาบันบริการสารสนเทศอยู่อย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหน้าที่ของสถาบันบริการสารสนเทศที่จะต้องให้ข่าวสารการบริการและกิจกรรมของสถาบันแกผู้ใช้ที่อยู่ในเป้าหมาย ซึ่งอาจทำในรูปแบบต่างๆ ได้
               3.  การสร้างสัมพันธภาพที่ดี
            ในการวางแผนและดำเนินงานกิจกรรมในระบบบริการสารสนเทศนั้น จะพบได้ว่าผู้ใช้เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ในการกำหนดความต้องการและทิศทางการบริการโดยตรง โดยการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นการให้การติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ให้บริการ จะทำให้ผู้ให้บริการสามารถติดตามความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับความสนใจของผู้ใช้ในการศึกษาค้นคว้า วิจัย ตลอดจนการพัฒนาวิชาการในสาขาต่างๆ โดยตรง จึงนับเป็นการเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ที่สำคัญอีกทางหนึ่ง
                4. การนำเสนอสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
            การนำเสนอสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้ใช้พบเห็นหรือสัมผัสได้ง่าย เป็นการเพิ่มโอกาสให้แก้ผู้ใช้สารสนเทศซึ่งอาจจะมีความสำคัญต่องานของเขาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นความต้องการของผู้ใช้ด้วย

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

      ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทยาทมาก เช่น มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูล หรือรับขส่งข้อมูลระหว่างกัน ตลอดใช่โทรศัพท์เครื่องที่(mobile phone) หรือโทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเข้ามาใช้งานในทุกระดับชั้นขององค์กร
      คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology: IT )เรียกย่อว่า"ไอที"ประกอบด้วยคำว่า"เทคโนโลยี" และคำว่า"สารสนเทศ" นำมาร่วนกันเป็น"เทคโนโลยีสารสนเทศ" และคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( Information and Communication Technology: ICT ) หรือเรียกย่อว่า"ไอซีที"ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้
      เทคโนโลยี่( Technology ) หมายถึง การนำความมรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการและกระบวนการ 
      สารสนเทศ( Information ) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ 
      เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามแผ่นแม่บท เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 หมายถึง เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูล และการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือการประมวลผล