วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559



วันภาษาไทยแห่งชาติ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วันภาษาไทย

ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ
นื่องจากได้มคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และสืบเนื่องจากปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันจึงเกิดความห่วงใยถึงปัญหาต่างๆ จึงได้จัดกรรมเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของภาษาไทยตลอดจนถึงทำนุบำรุง และอนุรักษ์ภาษาไทยให้อยู่คู่ไทยตลอดไปจึงได้มีการเสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปี เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฏาคม 2542 ให้วันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ
"วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง "ปัญหาการใช้คำไทย" ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์เว็บไซต์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บันทึกไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า"เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอจึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก"การเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้นนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้แก่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาในเมืองไทย ดังนั้น จึงเป็นที่มาของวันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคมคณะรัฐมนตรีได้มีติเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
    ๑.เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทานแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
   ๒.เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒
  ๓.เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
    ๔.เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิผลยิ่งขึ้น
     ๕.เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่าง ๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติและในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ"

สาเหตุที่กำหนดให้วันที่ 29 กรกฏาคม เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”

สำหรับวันที่ 29 กรกฏาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้น เพราะตรงกับวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2505 โดยทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” โดยพระองค์ทรงอภิปรายและสรุปอภิปรายได้อย่างดีเยี่ยมซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยกับความห่วงใยในการใช้ภาษาไทยคณะรัฐมนตรีจึงลงความเห็นว่าสมควรที่จะกำหนดให้ วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปีนั้นเอง
ประโยชน์ที่ได้รับจาก “วันภาษาไทยแห่งชาติ”
       1. ทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและ เอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยต่างๆ ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย ร่วมทั้งกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ”
       2. บุคคลในวงการวิชาชีพ ที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษาและ วงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลการใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง
      3. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและ สนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและ อนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป
กิจกรรมในวันภาษาไทยแห่งชาติ
โดยส่วนมาในวันภาษาไทยแห่งชาติ จะมีกิจกรรมทั้งของสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ที่จะมีการจัดกิจกรรมการใช้ภาษา การจัดนิทรรศการ การอภิปรายทางวิชาการ การประกวรคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น