วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559






การเผยแพร่สารสนเทศเทคโนโลยีและการสื่อสาร


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเผยแพร่สารสนเทศและการสื่อสาร


    การเผยแพร่สารสนเทศ (Information dissemination)  เป็นช่องทางสำคัญในการสื่อเพื่อเผยแพร่สารสนเทศจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง เช่น จากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน จากสถาบันบริการสารสนเทศไปยังผู้ใช้ เป็นต้น สารสนเทศที่เผยแพร่อาจอยู่ในรูปของข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพ มัลติมิเดีย และอาจบันทึกไว้บนกระดาษ สื่อโสตทัศน์ สื่อแม่เหล็ก หรือสื่อออปติก

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในการเผยแพร่สารสนเทศ
  ปัจจุบันการเผยแพร่สารสนเทศทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ยืดหยุ่นและประหยัด เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการเผยแพร่สารสนเทศทั้งในระหว่างบุคคล ไปสู่กลุ่มผู้ใช้หรือแก่สาธารณะโดยอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารทั้งในระดับบุคคล กลุ่มบุคคล ภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงานโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
            บริการที่สำคัญบนอินเทอร์เน็ตที่นำมาใช้ในการเผยแพร่สารสนเทศอย่างแพร่หลายนั้น คือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล ทำให้สามารถจัดส่งสารสนเทศในรูปอิเล็กทรอนิกส์ไปถึงผู้ใช้แต่ละคนได้อย่างสะดวก กลุ่มสนทนาทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการสนทนาร่วมกันในกลุ่มสมาชิกในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งกระดานสนทนา(webboard)เป็นกระดานสนทนาในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง แต่เปิดกว้างให้กับสารธารณะชน และเวิลด์ไวด์เว็บ(World Wide Web)หรือ (web)ซึ่งเป็นการบริการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร หรือสารสนเทศทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซท์ (hypertext)และจัดเป็นบริการสำคัญที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุด

แนวคิดเกี่ยวกับการเผยแพร่สารสนเทศ

        การเผยแพร่สารสนเทศ (Information Dissemination) เป็นช่องทางสำคญในการสื่อเพื่อเผยแพร่สารสนเทศจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง เช่น จากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน จากสถาบันบริการสารสนเทศไปยังผู้ใช้ เป็นต้น สารสนเทศที่เผยแพร่อาจอยู่ในรูปของ ข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพ มัลติมีเดีย และอาจบันทึกไว้บนกระดาษ สื่อโสตทัศน์ สื่อแม่เหล็กหรือสื่อออฟติก

        การเผยแพร่สารสนเทศทั่วไปมีการเผยแพร่อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

1.การเผยแพร่สารสนเทศอย่างไม่เป็นทางการ อาจมีลักษณะของการพูดคุยในระหว่างการประชุมสัมมนา การติดต่อทางโทรศัพท์ การติดต่อทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การร่วมในกลุ่มสนทนาทางอิเล็กทรอนิกส์ (Listserv) ในหัวข้อต่างๆเป็นต้น

2.การเผยแพร่สารสนเทศอย่างเป็นทางการ มีการบันทึกสารสนเทศไว้เป็นหลักฐานในรูปลักษณะสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น เอกสารบรรยายทางวิชาการ หนังสือ ตำรา รายงานการประชุมทางวิชาการ วารสาร เอกสารทางวิชาการ เป็นต้น ซึ่งนิยมเรียกสิ่งพิมพ์เหล่านี้อย่างกว้างๆว่า สิ่งพิมพ์วิชาการ โดยถือเป็นสื่อที่สำคัญยิ่งในการเผยแพร่ความรู้และสารสนเทศใหม่และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ยิ่งกว่านี้สิ่งพิมพ์วิชาการที่มีคุณภาพจะมีกระบวนการพิจารณาคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้ร่วมวิชาชีพหรือนกวิชาการในแขนงเดียวกัน (Peer-Review Process)

        การเผยแพร่สารสนเทศเป็นกิจกรรมสำคัญของสถาบันบริการสารสนเทศ เกี่ยวข้องกับงานประชาสัมพันธ์ กิจกรรมและภารกิจของสถาบัน และการเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบที่สะดวกแก่ผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด การเผยแพร่สารสนเทศที่สำคัญ คือ เป็นการจัดส่งสารสนเทศไปยังผู้ใช้ โดยอาจเป็นการจัดส่งไปยังผู้ใช้ที่สถาบันคาดว่าจะใช้ประโยชน์จากสารสนเทศนั้น หรือจัดส่งไปยังผู้ใช้ที่ร้องขอ ทั้งนี้สารสนเทศที่จัดส่งอาจอยู่ในรูป เอกสาร บทความ จดหมายข่าว เอกสารเวียนและทั้งที่เป็นกระดาษ/หรืออิเล็กทรอนิกส์

        สถาบันบริการสารสนเทศประเภทต่างๆ ล้วนมีภารกิจสำคัญในการจัดบริการเผยแพร่สารสนเทศทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่สารสนเทศที่จัดบริการเผยแพร่นั้นมุ่งเน้นสารสนเทศที่ได้รับการบันทึกไว้เป็นหลักฐานสำคัญ

        การเผยแพร่สารสนเทศนั้น ในระยะต้นส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ทางเดียว กล่าวคือ การที่ผู้ใช้บริการสารสนเทศจัดส่งสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ไม่ว่าจะร้องขอหรือไม่ก็ตาม และอาจมีการสอนหรือแนะนำให้ผู้ใช้ได้รู้จักวิธีการแสวงหาสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการแสวงหาสารสนเทศด้วยตัวเองเมื่อไม่ให้บริการแล้ว ถือได้ว่าดำเนินครบกระบวนการเผยแพร่สารสนเทศ

        ในระยะหลัง การเผยแพร่สารสนเทศมีลักษณะปฏิสัมพันธ์ โดยทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้มีการสื่อสารระหว่างกัน และให้ผลป้อนกลับเพื่อใช้ปรับปรุงกิจกรรมการเผยแพร่สารสนเทศในสาขาวิทยาการหรือแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หรือตามนโยบายให้บริการของสถาบันเผยแพร่สารสนเทศแห่งนั้นๆ

สถาบันบริการสารสนเทศมักจัดเผยแพร่สารสนเทศใน 2 ลักษณะ คือ

         1.การเผยแพร่สารสนเทศเชิงรับ (Passive) มุ่งเน้นการจัดบริการเผยแพร่ดั้งเดิม คือการเผยแพร่สารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ตามที่ผู้ใช้ร้องขอ โดยอยู่ในขอบเขตการจัดบริการของสถาบันบริการสารสนเทศ เช่น สถาบันบริการสารสนเทศแห่งหนึ่งจัดบริการแปลเอกสารภาษาต่างประเทศ ผู้ใช้ที่สนใจจะต้องขอใช้บริการดังกล่าวโดยแจ้งต่อผู้ให้บริการโดยทางโทรศัพท์หรือไปแจ้งความจำนง ณ สถาบันบริการสารสนเทศแห่งนั้นด้วยตนเอง เพื่อขอทราบเงื่อนไขหรือลักษณะการให้บริการแปล หากผู้ใช้รายนี้ไม่ได้ขอให้บริการดังกล่าว อาจเป็นเพราะไม่ทราบว่ามีการจัดบริการแปล หรืออาจเคยใช้บริการแล้วแต่รู้สึกว่าการแปลมีข้อบกพร่อง หรือให้บริการช้าเกินไป ทำให้สถาบันบริการย่อมขาดโอกาสในการให้บริการ

        2.การเผยแพร่สารสนเทศเชิงรุก (Proactive) มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ เช่น ลักษณะการใช้สารสนเทศ ความสนใจ เป็นต้น เพื่อใช้ในการคาดการณ์ความต้องการของผู้ใช้และจัดบริการเผยแพร่สารสนเทศได้ทันและตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้ใช้ร้องขอใช้บริการ เช่น การจัดส่งสารสนเทศที่ตรงกับหัวข้อความสนใจของผู้ใช้แต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มทันทีที่มีสารสนเทศใหม่ ดังนั้น การเผยแพร่เชิงรุกจึงริเริ่มจากผู้ให้บริการสารสนเทศและจัดโดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรองขอใช้บริการ

 

การเผยแพร่สารสนเทศ

       1.ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภานในการเผยแพร่
      2.ต้องการคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย  กลุ่มเป้าหมาย หมายถึงกลุ่มคนที่เราต้องการให้รับรู้และให้ได้รับปนะโยชน์จากการรับรู้สารสนเทศ
      3.ต้องเลือกใช้สื่อ  และรูปแบบที่เหมาะสม ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้สื่อให้เหมาะสม  มีความหลากหลายรูปแบบ คุ้มค่าที่สุด
    4.ต้องคำนึงถึงประเด็นทางกฏหมาย และความรับผิดของผู้ของผู้เผยแพร่ 
หาก เผยแพร่สารสนเทศแล้วทำให้ผู้อื่นเสียหาย ผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  พ.ศ. 2550

เป้าหมายของการส่งเสริมการใช้และเผยแพร่สารสนเทศ

สารสนเทศในยุคปัจจุบันมีมากมายหลายรูปแบบ บทบาทของสถาบันบริการสารสนเทศจึงเปลี่ยนไปตามยุคสมัย สถาบันบริการสารสนเทศในฐานะที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ จำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยการที่ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันบริการสารสนเทศจำเป็นต้องเตรียมบุคลากรที่พร้อมให้บริการในการที่จะหาหนทางหรือวิธีการซึ่งจำเป็นทำให้ได้ทราบถึงพัฒนาการใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตลอดจนผลิตภัณฑ์ด้านสารสนเทศล่าสุดเช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลออนไลน์ หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
             1. การให้การศึกษาผู้ใช้
การให้การศึกษาผู้ใช้มีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้ใช้รู้จักและเข้าใจทรัพยากรสารสนเทศแหล่งสารสนเทศเครื่องมือช่วยการค้นคว้าและกลยุทธ์การค้นหาสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้มีความรู้ และความสามารถในการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการผู้ใช้จำนวนมากมีความคุ้นเคยกับบริการและรูปแบบของสารสนเทศที่ตนเคยมีประสบการณ์ประกอบกับความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและบริการใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นทีหลัง
               2. การเผยแพร่กิจกรรมบริการ
            สถาบันบริการสารสนเทศมักเผยแพร่กิจกรรมของหน่วยงานอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้ทราบขอบเขตของบริการและศักยภาพของหน่วยงานที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เนื่องจากผู้ใช้จำนวนมากมีความสนใจที่จะได้สารสนเทศที่ต้องการก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นจะต้องใช้สารสนเทศเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเป็นการยากที่จะให้ผู้ใช้ทุกคนติดตามความเคลื่อนไหว หรือศึกษาขอบเขตความรับผิดชอบของสถาบันบริการสารสนเทศอยู่อย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหน้าที่ของสถาบันบริการสารสนเทศที่จะต้องให้ข่าวสารการบริการและกิจกรรมของสถาบันแกผู้ใช้ที่อยู่ในเป้าหมาย ซึ่งอาจทำในรูปแบบต่างๆ ได้
               3.  การสร้างสัมพันธภาพที่ดี
            ในการวางแผนและดำเนินงานกิจกรรมในระบบบริการสารสนเทศนั้น จะพบได้ว่าผู้ใช้เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ในการกำหนดความต้องการและทิศทางการบริการโดยตรง โดยการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นการให้การติดต่อสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ให้บริการ จะทำให้ผู้ให้บริการสามารถติดตามความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับความสนใจของผู้ใช้ในการศึกษาค้นคว้า วิจัย ตลอดจนการพัฒนาวิชาการในสาขาต่างๆ โดยตรง จึงนับเป็นการเผยแพร่และส่งเสริมการใช้ที่สำคัญอีกทางหนึ่ง
                4. การนำเสนอสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
            การนำเสนอสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้ใช้พบเห็นหรือสัมผัสได้ง่าย เป็นการเพิ่มโอกาสให้แก้ผู้ใช้สารสนเทศซึ่งอาจจะมีความสำคัญต่องานของเขาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นความต้องการของผู้ใช้ด้วย

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

      ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทยาทมาก เช่น มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูล หรือรับขส่งข้อมูลระหว่างกัน ตลอดใช่โทรศัพท์เครื่องที่(mobile phone) หรือโทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเข้ามาใช้งานในทุกระดับชั้นขององค์กร
      คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology: IT )เรียกย่อว่า"ไอที"ประกอบด้วยคำว่า"เทคโนโลยี" และคำว่า"สารสนเทศ" นำมาร่วนกันเป็น"เทคโนโลยีสารสนเทศ" และคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( Information and Communication Technology: ICT ) หรือเรียกย่อว่า"ไอซีที"ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้
      เทคโนโลยี่( Technology ) หมายถึง การนำความมรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการและกระบวนการ 
      สารสนเทศ( Information ) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ 
      เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามแผ่นแม่บท เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 หมายถึง เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูล และการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือการประมวลผล 



    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น